วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โรคภัยจากในอาคาร (Sick Building Syndrome)

ที่มา :  Jonah Israelit, 2013,Clues to Identifying a Sick Building.

(http://www.coldmasters.com)


          เลขานุการที่อาศัยในเขตเมืองส่วนใหญ่ ใช้เวลาอยู่ในอาคารเป็นเวลามากกว่าร้อยละ 90 (Dales,R.,et.al.2008) โดยไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าอากาศที่หายใจเข้าไปนั้นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดกลุ่มอาการภาวะผิดปกติด้านสุขภาพทางตา จมูก ลำคอ การหายใจ ผิวหนัง และอาการทั่วไปโดยไม่สามารถระบุสาเหตุเฉพาะของโรคได้จึงเกิดอาการเมื่ออยู่ในอาคาร และหายไป เมื่ออยู่ภายนอกอาคาร ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดชื่อเรียกกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นนี้ว่า Sick Building Syndrome (SBS) (ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล, 2548, หน้า91-99

ที่มา : genocon, Sick Building Syndrome.
(http://www.healthadvice4life.com/sick-building-syndrome.html)

            องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (US-EPA) (US.EPA, 1991 and radition 1991.) อธิบายถึงแหล่งที่มาของการเกิดโรค SBS ว่ามีสาเหตุดังนี้

  • การระบายอากาศไม่เพียงพอ   




          เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิด SBS เนื่องจากการออกแบบระบบระบายอากาศไม่ได้คำนึงถึงมาตรฐานการระบายอากาศหรือการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้ออกแบบกำหนดมาตรฐานการระบายอากาศในห้องทำงานปกติอยู่ที่อย่างน้อย 20 ลูกบาศก์ฟุต ต่อนาที ต่อคน 



  • ฝุ่นในอากาศ  




          ซึ่งมีแหล่งกำเนิดทั้งภายในและภายนอกอาคารจากงานวิจัยของ Massey et al. (2009) พบว่าปริมาณฝุ่นจากภายนอกอาคารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณฝุ่นภายในอาคาร ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้อาศัยในอาคารและเป็นสาเหตุของการเกิดโรค SBS ได้เช่นกัน


  • รา แบคทีเรีย และไวรัสในอากาศ 

ที่มา: 헌집, 2011.

(http://blog.daum.net/dldbal1808/351)

          ภายในสำนักงานมักมีบริเวณที่อับชื้น เช่น พรมที่เปียกน้ำใต้แผ่นกระเบื้องหรือฉนวนกันความร้อน/เย็น มูลนกและแมลงซึ่งอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดแบคทีเรียและไวรัสได้  ทั้งนี้กลุ่มอาการที่ปรากฏขึ้นประกอบด้วยกลุ่มอาการในระบบต่างๆ ซึ่งมีอาการแตกต่างกัน ดังนี้ (ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล, 2548, หน้า 91-99)

กลุ่มอาการทั่วไป  เป็นอาการที่ไม่จำเพาะต่อโรคใดโรคหนึ่งแต่เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปของระบบประสาท



กลุ่มอาการระคายเคืองต่อเยื้อบุ เช่น เยื้อบุตา จมูก หรือลำคอ กลุ่มอาการนี้พบบ่อยที่สุดในผู้ที่ทำงานในอาคารสำนักงาน ที่มีเครื่องปรับอากาศรวม
กลุ่มอาการระบบหายใจส่วนล่าง ลักษณะอาการคล้ายโรคหอบหืดแต่ไม่เคยมีประวัติการเป็นโรคหอบหืดกลุ่มอาการนี้พบได้น้อยกว่ากลุ่มอาการอื่น
กลุ่มอาการทางผิวหนัง มักพบในบริเวณที่สัมผัสสารได้ง่าย เช่น การระคายเคืองใบหน้าพบในผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผิวแห้ง ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น



     ดังนั้นการแก้ไขจึงควรมุ่งเน้นที่การปรับปรุงจากภายในอาคารโดยเริ่มต้นที่การค้นหาสาเหตุ ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วยวิศวกรผู้ดูแลอาคารและนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในอาคารได้เสนอวิธีการดังนี้ (ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล, 2548, หน้า 91-99)
1.   ย้ายกระถางดอกไม้ไปนอกอาคาร
2.  จัดวางอุปกรณ์สำนักงานให้เหมาะสม
3.  กำหนดพื้นที่ทำงานที่สอดคล้องกับจำนวนคน
4.  ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
5.  เพิ่มการระบายอากาศ เช่น อุปกรณ์ทำความเย็น พัดลม รวมถึงภายในท่อระบบส่งอากาศด้วย
6.  กำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ให้อยู่ภายนอกอาคาร
7.  หากมีการจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงานใหม่ ให้เลือกประเภทที่มีการระเหยของ VOSCS น้อยที่สุด
8. การรณรงค์ให้พนักงานออกกำลังกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสุขกาย และสุขภาพจิตอย่างสม่ำเสมอ
9. การรณรงค์ให้พนักงานออกกำลังกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างสม่ำเสมอ


ที่มา : Rondi, 2013,Sick Building Syndrome – 3 Ways Raised Access Flooring Can Help.

(http://www.wahmresourcesite.com)


           ทั้งนี้ สอดคล้องกับแนวคิดการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ของ ศ.อรุณ ชัยเสรี (นายกสภาวิศวกร และนายยกวิศวกรรมสถาน)   วิธีการแก้ไขและป้องกันนั้น เราก็ต้องเริ่มต้นจากการออกแบบก่อสร้างให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งตรงนี้วิศวกรจะต้องมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำแก่สถาปนิก หรือแก้ไขตามสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าห้องอากาศไม่ถ่ายเท ก็ควรออกแบบให้โปร่งโล่ง อากาศเข้าออกได้ดีถ้าพื้นอาคารหรือห้องติดหรือใกล้พื้นดิน ก็ควรปูยางรองพื้นชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันแก๊สเรเดียมได้ ที่สำคัญควรทำความสะอาดห้องเป็นประจำและหมั่นตรวจตราสำรวจอยู่สม่ำเสมอ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในห้องหรืออาคารที่ป่วยก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด


ที่มา : Remedying Sick Building Syndrome With Green Cleaning, 2012.
 (http://www.cminstitute.net)





อ้างอิง
Dales R. (2008). Quality of indoor residential air and health.
Cited 2015 October 8.Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed
Massey, D., et al. (2009). Indoor/outdoor relationship of fine particles less than2.5μm
(PM2.5) in residential homes locations in central Indian region.
Cited 2015 October 8. Available from: http://www.sciencedirect.com
United States Environmental Protection Agency. (1990). Ventilation and Air Quality in
Offices. Cited 2015 October 8. Available from: http://www2.epa.gov/indoor-air-
qualityiaq/ventilation-and-air-quality-offices.
United States Environmental Protection Agency. (1991). Indoor Air Facts No.4 Sick 
Building Syndrome. Cited 2015 October 8. Available from: http://www.ei-
resource.org
ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล.  (2548). กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร. [Online]. Available:       
http://www.etm.sc.mahidol.ac.th/a6.shtml. [2558, ตุลาคม 8]
ศ.อรุณ ชัยเสรี.  (2551). อดีตนายกวิศวกรรมสถาน ชี้ คนป่วย เพราะอาคารป่วย. [Online].
               Available:  http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews. [2558, ตุลาคม 8]










คณะผู้จัดทำ

นางสาว  เขมนันท์   อาจจุลลา   รหัสนักศึกษา  5711011809001
นางสาว  ธนวรรณ   เพชรทอง   รหัสนักศึกษา  5711011809006
นางสาว  ญานิศา    จันทาพูน    รหัสนักศึกษา  5711011809007
นางสาว  สมัชญา    เกตุงาม      รหัสนักศึกษา  5711011809019
นางสาว  อัจฉรา     เย็นใจ        รหัสนักศึกษา  5711011809020
นางสาว  ชุติมา       โสภา        รหัสนักศึกษา  5711011809021
นางสาว  ดุษฎี       เสือช่อ        รหัสนักศึกษา  5711011809030
นางสาว สุนันทา    ดีพรม         รหัสนักศึกษา  5711011809032
นางสาว ศุภักษร     พลพวก      รหัสนักศึกษา  5711011809037



                                                                     








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น